พอต คืออะไร
พอตไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด ณ ขณะนี้เนื่องจาก ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก ไม่มีปัญหาจุกจิก พกพาไปไหนก็สะดวก เพราะมีน้ำหนักเบา ไม่ต้องดูแลรักษาเยอะ
หากคุณกำลังสนใจหันมาใช้พอตไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นนั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้คุณเริ่มต้นใช้งานอย่างถูกต้องและเลือกซื้อพอตไฟฟ้าได้เหมาะสมตรงกับความต้องการของตัวคุณที่สุด
สารบัญ
- พอตไฟฟ้า คืออะไร ?
- ส่วนประกอบ พอตไฟฟ้า และคำแนะนำเบื้องต้น
- พอตไฟฟ้า มีกี่แบบ และ แตกต่างกันอย่างไร ?
- ข้อดี พอตไฟฟ้า
- ข้อเสีย พอตไฟฟ้า
- สรุป พอตไฟฟ้า
1.พอตไฟฟ้า คืออะไร ?
พอตไฟฟ้า คือ บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่อีกชนิดหนึ่งที่ใช้งานง่าย สะดวกเพียงแค่เติมน้ำยา ก็สามารถใช้งานได้เลย แถมตัวเครื่องยังมีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาง่าย เหมาะกับการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมาคอยหยดน้ำยากันบ่อยๆแบบแต่ก่อน การดูแลก็มีเพียงแค่เปลี่ยน คอยล์ (ไส้) โดยที่เราไม่ต้องมานั่งพันลวดหรือเปลี่ยนสำลีกันเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป
เนื่องด้วยขนาดที่เล็กในบางรุ่นอาจจะมีกำลังไฟน้อยลง แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้อด้อยของพอตไปซะทีเดียว เพราะเมื่อระบบพอตมีกำลังไฟน้อยจึงทำให้ต้องใช้น้ำยาเฉพาะทางอย่าง น้ำยาซอลนิค ซึ่งน้ำยาประเภทนี้จะสามารถซึมซับนิโคตินเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วกว่าน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ
หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือพอต ไม่ต้องการใช้กำลังไฟที่มากเพื่อสร้างควันเยอะๆเหมือนกับบุหรี่ไฟฟ้าก็สามารถทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกได้อรรถรสของควัน กลิ่น รสชาติ และสารนิโคตินที่เพียงพอแล้ว
ซึ่งระดับนิโคตินที่ที่นิยมใช้กันก็มีตั้งแต่ 20 30 35 40 50+ mg ขึ้นไปเราสามารถเลือกเองได้ อีกทั้งฟีลสูบของระบบพอตก็ใกล้เคียงบุหรี่จริงมากกว่า แถมพอตยังออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องพันลวดหรือเปลี่ยนสำลีแบบบุหรี่ไฟฟ้าสมัยก่อนแล้ว (แต่ก็ยังมีบริษัทผู้ผลิตที่ทำคอยล์โมออกมาไว้ให้ใช้กับพอตได้)
การดูแลรักษาเปลี่ยนคอยล์ของพอตก็ง่ายเพียงแค่ดึงคอยล์อันเก่าออกมาแล้วเสียบคอยล์อันใหม่เข้าไปแทนเป็นอันจบ ส่วนฟีลการสูบของระบบพอต ก็จะนุ่ม ไม่กระแทกหรือแสบคอ
ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้ พอต กำลังเป็นที่นิยมของผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผู้สูบบุหรี่กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพอต จะใช้กับน้ำยาฟรีเบส (น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า)ไม่ได้ เพราะ พอตรุ่นใหม่ๆในตลาดปี 2021 นี้ก็มีการปรับปรุงพัฒนาให้มีกำลังไฟที่สูงเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว
อีกทั้งยังมีคอยล์โอห์มต่ำๆ (Sub Ohm) ที่ออกมาให้ใช้กับน้ำยาประเภทนี้อีกด้วย และในรุ่นใหม่ๆหลายๆตัว พอต AIO (All in One) ก็สามารถใช้ได้ทั้งน้ำยาซอลนิค และ น้ำยาฟรีเบสอีกด้วย เพียงแค่เราเลือกใช้คอยล์ให้เหมาะสมกับน้ำยาแค่นั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม : น้ำยาซอลนิค น้ำยาฟรีเบส คืออะไร ใช้แบบไหนดี ?
2.ส่วนประกอบ พอตไฟฟ้า และคำแนะนำเบื้องต้น
ส่วนประกอบหลักๆ ของ พอตไฟฟ้า ที่ผู้ใช้งานควรจะต้องรู้มีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ
- Pod Cartridges หรือ หัวแทงค์ ทำหน้าที่เป็นแทงค์เก็บน้ำยาส่วนความจุน้ำยาส่วนใหญ่ประมาณ 2-5 ml ลักษณะโครงสร้างรูปทรงของ Pod Cartridges ก็จะมีผลกับฟีลการสูบและรูลมด้วยเช่นกัน และ Pod Cartridges หากใช้ไปนานๆเกิดการแตกหรือชำรุดเสียหาย ก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ (ใช้ได้เฉพาะรุ่นที่ตรงกันเท่านั้น) หรือ ถ้าผู้ใช้อยากสูบน้ำยาหลายๆกลิ่นในคราวเดียวกันก็สามารถพกหัวสำรองแบบนี้ไว้ถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ดีย์มากๆ ข้อควรระวัง เมื่อเราจะนอนหรือเลิกใช้งานเป็นเวลาหลายชั่วโมง ควรถอด Pod Cartridges ออกจากตัวเครื่อง เพื่อไม่ให้น้ำยาพกหรือซึมเข้าแบตเตอรี่
- Coil หรือ คอยล์ จะมีขดลวดความร้อนและสำลี ติดอยู่ด้วยกันภายในคอยล์ สำลีจะมีหน้าที่อุ้มน้ำยาไว้ เมื่อเราใช้งานแบตเตอรี่จะส่งกำลังไฟมาที่ขดลวดความร้อนและเมื่อขดลวดเกิดความร้อน จะทำให้สำลีที่อุ้มน้ำยาไว้เดือดจนเกิดการระเหยของไอน้ำขึ้นมา คอยล์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ ? เป็นคำถามที่มือใหม่หลายๆคนมักจะถามเสมอ เราควรเปลี่ยนคอยล์เมื่อเวลาสูบเริ่มมีกลิ่นไหม้ หรือ รู้สึกว่าควันเริ่มน้อยลง กลิ่นไม่หอมเหมือนตอนเปลี่ยนคอยล์ใหม่ๆแล้ว
- ตัวเครื่อง จะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วนคือ 1.แบตเตอรี่ที่ติดมาในตัวเครื่อง ความจุมากหรือน้อย แล้วแต่ขนาดและการออกแบบของผู้ผลิตแต่ส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพียงพอต่อการใช้งาน 1 วันเต็มอยู่แล้ว (พอตบางรุ่นก็ใช้ถ่านแยกจากตัวเครื่อง) ข้อแนะนำไม่ควรใช้งานจนแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงเพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ง่าย 2.ส่วนของการปรับไฟ การปรับไฟนั้นไม่มีค่าตายตัว โดยเราจะเลือกปรับในค่าที่สูบแล้วรู้สึกว่าเราชอบที่สุด นั่นคือ ค่าที่เหมาะสมในการปรับไฟ
3.พอตไฟฟ้า มีกี่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร ?
Pod System หรือ พอตไฟฟ้า แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่
- พอตไฟฟ้าระบบเปิด ลักษณะของพอตประเภทนี้จำเป็นต้องซื้อน้ำยาเพื่อเติมเข้าไปใน Pod Cartridges หรือ หัวเปล่า อย่างสม่ำเสมอ เมื่อน้ำยาใกล้หมด ข้อดีของพอตระบบเปิดนี้คือ มีน้ำยาให้เราเลือก หลากหลายแบรนด์ และ หลากหลายกลิ่นมากๆ อีกทั้งยังเลือกใช้ น้ำยาได้ทุกประเภท และ คอยล์เบอร์ต่างๆ ได้อย่างอิสระ ตามความต้องการของผู้ใช้
- พอตไฟฟ้าระบบปิด จะมีลักษณะตรงข้ามกับพอตระบบเปิดคือ จะเป็นหัว Pod Cartridges แบบสำเร็จรูปมีน้ำยามาทุกอย่างมาให้เรียบร้อยพร้อมสูบ ไม่สามารถเติมน้ำยาได้เองเมื่อน้ำยาหมด ไม่สามารถเลือกค่าโอห์มของคอยล์ได้ (ผู้ผลิตจะทำการวิจัยค่าโอห์มที่เหมาะสมที่สุดมาให้แล้ว) เมื่อน้ำยาหมดก็ดึงหัว Pod Cartridges อันเก่าออกและใส่อันใหม่เข้าไปเป็นอันเสร็จสิ้น ข้อดีของพอตระบบปิด คือใช้งานง่าย สะดวก ไม่ต้องคอยล์มาเติมน้ำยาหรือเปลี่ยนคอยล์ แต่ต้องระวังหน่อยตอนน้ำยาใกล้จะหมดหากน้ำยาแห้งจะทำให้เหม็นไหม้และแสบคอ
- พอตไฟฟ้าระบบปิด แบบใช้แล้วทิ้ง ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คุณสมบัติก็ตามชื่อเลย คือ ใช้จนน้ำยาหมด ก็ทิ้งได้เลย โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนหัว หรือ ชาร์จแบตใหม่
4.ข้อดีของพอตไฟฟ้า
- มีขนาดเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาไปข้างนอกได้สะดวก
- ใช้งานได้ยาวนาน ชาร์จไฟไม่ถึง 2 ชม (รุ่นใหม่ๆไม่ถึง1ชม.แล้ว)
- ประหยัด เพราะสูบแน่นไม่กี่คำ ก็รู้สึกอิ่มนิโคติน
- เริ่มต้นง่ายแค่เติมน้ำยา เปลี่ยนคอยล์ก็ใช้งานได้ทันที
- ราคาถูกกว่าบุหรี่ไฟ้า เหมาะกับคนที่กำลังอยากเลิกบุหรี่
- ทำความสะอาด และดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบุหรี่ไฟฟ้า
- ฟีลสูบใกล้เคียงบุหรี่จริง ควันไม่เยอะจนเกินไป และมีฟีลสูบที่นุ่ม ไม่แทงคอ
- ผู้ใช้จะไม่ได้รับสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เหมือนบุหรี่จริง ผู้ใช้จะได้รับเพียงนิโคตินในปริมาณที่ผู้ใช่สามารถกำหนดเองได้
- เหมาะสมกับการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
5.ข้อเสียของพอตไฟฟ้า
ต้องขอบอกก่อนว่าข้อเสียตรงนี้อาจจะไม่ใช่ข้อเสียหรือจุดด้อยไปซะทีเดียว ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของผู้ใช้ด้วย
- กลิ่นที่ได้รับและควันที่น้อยกว่าบุหรี่ไฟฟ้า
- เนื่องจากพอตส่วนใหญ่เป็นแบบแบตเตอรี่ในตัวทำให้ต้องชาร์จแบตกับตัวเครื่องโดยตรง (ไม่ควรใช้งานในขนาดชาร์จอยู่ อันตราย)